จริงๆแล้ว ผมมีแนวคิดเดิมอยู่ เพราะชอบดูเพชรพลอยมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ จะมีคนนำเพชรพลอยจากพม่ามาเดินขายในเชียงใหม่ ความที่เป็นคนอยากรู้อยากเห็น ก็เลยไปคุยไปถามผู้ใหญ่ว่า อะไรเป็นอะไร เรียกว่าอย่างไร คุณภาพเป็นยังไง ราคาเท่าไหร่ ศึกษามาเรื่อยๆ จนพอมีฐานะก็ไปซื้อเพชรพลอยกับภรรยาและลูกๆ
ศึกษาต่อมาเรื่อยๆ และมาพบว่า De Beers สร้างแบรนด์และเครือข่าย จนผูกขาดเครือข่ายทั่วโลก มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 50% เป็นผู้ทำให้ราคาเพชรสูงขึ้นตลอดเวลา
พอดีช่วงนี้ว่างๆ มีพรรคพวกจากแอฟริกา มาเสนอว่า เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ทำให้ราคาเพชรตก โดยเฉพาะราคาของเหมืองและเพชรดิบ (rough diamond หรือเพชรที่ยังไม่ได้เจียรนัย ) ก็เลยมีความคิดขึ้นมาว่า ฝีมือการเจียรนัยของคนไทยถือว่า เป็นฝีมือระดับโลก ถ้าได้เครื่องมือชั้นดีของโลก ฝีมือการเจียรนัยของเราคงไม่แพ้ De Beers หากทำการตลาดดีๆ ก็น่าจะมีชื่อเสียง ถ้าเราจะตั้งชื่อแบรนด์ ว่า “Thai Cut” หรืออะไรทำนองนี้ ก็จะเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงประเทศไทย ให้โอกาสคนไทยแสดงฝีมือระดับโลก ก็เลยอยากเข้าไปศึกษาโดยการเริ่มลงทุนเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นรู้จริง จึงจะทำถึงขั้นที่เรียกว่า การเพิ่มมูลค่า ( Value Added ) ตั้งแต่ขั้นการทำเหมืองจนไปสู่การทำเพชรที่เจียรนัยแล้ว
นอกจากนี้ ฝีมือการทำเครื่องประดับ (Jewelry) ของคนไทยก็เก่งมาก ผมคงจะได้มีโอกาสสนับสนุนวงการเพชรและเครื่องประดับไทยในโอกาสต่อไปข้างหน้า แต่ถือว่าขั้นนี้ยังเป็นขั้นมือใหม่หัดขับอยู่
ที่เล่าให้ฟังว่า ได้ลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2552 นั้น ภายใน 2 – 3 สัปดาห์ คงจะได้เห็นเพชรดิบ เป็นครั้งแรกในชีวิตของผม แล้วผมจะส่งภาพมาให้แฟนคลับได้ชมพร้อมๆกับที่ผมเห็น เผื่อจะมี ไอเดียดีๆ ร่วมกันครับ
วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น